วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

http://www.doisaket.net/doisaket/simple/?t39.html  (23/07/2554)  กล่าวว่า  นวัตกรรมทางการศึกษา  "เพื่อเป็นผลงานทางวิชาการสำหรับครู"
             นวัตกรรม  หมายถึง  เครื่องมือ  สื่อ  หรือ วิธีการใหม่ๆ  ที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ในทางที่ดีมีคุณภาพ  และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น  ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้นจะคิดขึ้นใหม่  หรือ  ดัดแปลงปรับปรุงมาจากของเดิมหรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่น  และนำมาใช้อีก  ก็ถือว่าเป็น "นวัตกรรม"  
            นวัตกรรมแบบทางการศึกษา  หมายถึง  เครื่องมือ  สื่อ  แนวคิด  วิธีการกระบวนการ  หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
          ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษา  ตามลักษณะผู้ใช้ประโยชน์จำแนกได้ดังนี้ 
ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับครู
ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับนักเรียน
- คู่มือครู
- เอกสารประกอบการสอน
- ชุดการการสอน
- สื่อประสมชนิดต่างๆ
- หนังสืออ้างอิง
- เครื่องมือวัดผลประเมินผล
- อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
- โครงการ
- วิจัยในชั้นเรียน
- การศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- วิธีสอนแบบต่างๆ
                      ฯลฯ
 
 
บทเรียนสำเร็จรูป
- เอกสารประกอบการเรียน
- ชุดฝึกปฏิบัติ
- ใบงาน
- หนังสือเสริมประสบการณ์
- ชุดเพลง
- ชุดเกม
- โครงงาน
                                              ฯลฯ
 
 
 
 



นายไพบูลย์  จำปาปั่น  http://www.gotoknow.org/blog/jumpapun/35027    (23/07/2554)  กล่าวว่า  นวัตกรรมทางการศึกษา  Innovationหมายถึงการนำความคิดใหม่ ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ  หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม หรืออาจจะได้รับการปรับปรุงของเก่าให้ใหม่และเหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนเป็นระบบ    จนเป็นที่เชื่อถือได้ว่าให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรานำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติทางการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา 
ประเภทตามเนื้องาน
1.      นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกล การสอนระบบเปิด  การศึกษานอกระบบโรงเรียน
2.      นวัตกรรมด้านหลักสูตรเช่นหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่
3.      นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ ชุดการสอน บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน การเรียนด้วยตนเอง การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบ คอนสทรัคทิวิสซึ่ม การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่ (ร่วมมือกัน)
4.  นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น สไลด์ วีดิทัศน์ วิทยุ       โทรทัศน์  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ      อินเทอร์เน็ต  (Web-based Instruction)หรือ e-Learning       
5.  นวัตกรรมด้านการประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม  อิงเกณฑ์ การวัดผล           ก่อนเรียน การวัดผลหลังเรียน การวิเคราะห์ ข้อสอบ    
6.  นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ การใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูล ฯลฯ
กระบวนของการพัฒนานวัตกรรม
     นวัตกรรมการเรียนการสอน โดยทั่วไปมักเกิดจากความต้องการในการแก้ปัญหาปรับปรุงการเรียนการสอนของครู ดังนั้นจุดเริ่มต้นของกระบวนการพัฒนานวัตกรรม จึงอยู่ที่การศึกษาสภาพปัญหา การคิดค้นหรืออกแบบนวัตกรรมให้สอดคล้องกับปัญหา การสร้างหรือพัฒนานวัตกกรมให้สมบูรณ์ตามแนวหรือกรอบของแบบนวัตกรรมที่กำหนด การทดลองวิจัยและพัฒนาเพื่อให้นวัตกรรมมีประสิทธิภาพสูงสุด การเผยแพร่ไปสู่ประชากรเป้าหมายเพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลายและกว้างขวาง



ครูอานนท์http://www.krooanon.com/?tag=%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a8%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b2   (23/07/2554)  กล่าวว่า  นวัตกรรมทางการศึกษา หรือ innovation education หมายถึงอะไรนั้น จริงๆ แล้วก็ยังไม่มีใครมาให้คำจำกัดความที่แน่ชัด แม้แต่สารานุกรมเสรีอย่าง wikipedia ภาคภาษาไทยก็ไม่มีใครมาให้ความหมายหรือนิยามที่กระจ่างในเรื่องนี้ ลองสืบค้นข้อมูลในเว็บต่างๆ ก็ให้ความหมายคล้ายๆ กันหรืออาจจะคัดลอกกันมาเลยก็มี กระผมก็ไม่ใช่นักวิชาการที่จะมีดีกรีถึงขั้นมาให้ความหมายคำที่ค่อนข้างวิชาการคำนี้ได้  ก็คงต้องอธิบายเลียบๆ เคียงๆ กับคนอื่นๆ ที่เขาใช้กัน สำหรับคำๆนี้เกิดจากคำสองคำมาประสมกันนั่นก็คือ นวัตกรรม + การศึกษา หรือ innovation + education ดังนั้นการให้ความหมายก็คงไม่พ้นเรื่องของการให้ความหมายแยกในแต่ละคำ แล้วเอามาผสมกันให้ดูสอดคล้องกลมกลืนกันไปก็เท่านั้นเอง คำว่า นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า [...]


เอกสารอ้างอิง
http://www.doisaket.net/doisaket/simple/?t39.html     เข้าถึงเมื่อ  23/07/2554
http://www.gotoknow.org/blog/jumpapun/35027    เข้าถึงเมื่อ  23/07/2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น