วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แนะนำตัว

ชื่อ:  นางสาวภุมรี  ศรีทน
ชื่อเล่น:  ดี้
คติพจน์:  อนาคตเป็นสิ่งสำคัญ แต่ปัจจุบันสำคัญยิ่งกว่า  (ทำวันนี้ให้ดีที่สุด)
ความใฝ่ฝันในอนาคต:  หวังว่าจะได้เป็น  ครู
ภูมลำเนา: เพชรบูรณ์ 

ประวัติการศึกษา
ระดับชั้น
ชื่อโรงเรียน
ประถมศึกษา
โรงเรียนธารีคีรี (ตชด.)
มัธยมต้น
โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม
มัธยมปลาย
โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม
ปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร
คณะวิทยาลัยการฝึกหัดครู  สาขาคณิตศาสตร์



วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Windows Live SkyDriveคืออะไร



จัดเก็บ จัดระเบียบ และดาวน์โหลดไฟล์ รูปถ่าย และรายการโปรดของคุณในเซิร์ฟเวอร์ Windows Live และเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แบ่งปันรูปถ่ายและไฟล์ที่คุณสร้างกับเพื่อน ร่วมกันทำงานบนเอกสาร หรือแสดงรูปถ่ายและไฟล์ที่คุณสร้างเพื่อทุกคนบนเครือข่าย Windows Live เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้เว็บไซต์ Windows Live SkyDrive ด้วย Windows Live ID ของคุณ คุณจะได้รับ:

  • พื้นที่จัดเก็บ จัดเก็บรูปถ่ายและไฟล์ได้กว่าหลายพันไฟล์ ตัววัดพื้นที่จัดเก็บของ SkyDrive จะแสดงให้เห็นว่าคุณใช้พื้นที่ว่างไปแล้วเท่าใด
  • การจัดระเบียบ จัดเรียงไฟล์ของคุณในโฟลเดอร์ระดับบนสุดและโฟลเดอร์ย่อยที่คุณสร้าง
  • การควบคุม เลือกการอนุญาตสำหรับโฟลเดอร์ระดับบนสุดแต่ละโฟลเดอร์ที่คุณสร้าง เก็บรูปถายและรายการโปรดของคุณในโฟลเดอร์ส่วนบุคคลเพื่อใช้งานส่วนตัว หรือในโฟลเดอร์ที่ใช้ร่วมกันเพื่อใช้งานร่วมกันกับเครือข่าย Windows Live ของคุณ เครือข่ายเพิ่มเติมของคุณ และบุคคลในรายชื่อผู้ติดต่อ หรือในโฟลเดอร์สาธารณะเพื่อให้ทุกคนบนอินเทอร์เน็ตดู
  • ความสะดวก ติดตามรายการไซต์ที่คุณชื่นชอบแม้ในขณะที่คุณไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ของคุณเอง
  • ความยืดหยุ่น ย้าย คัดลอก ลบ เปลี่ยนชื่อ และใส่คำอธิบายรูปถ่ายและไฟล์หลังจากที่อัปโหลดแล้ว
  • การแสดงผล รูปถ่ายที่บันทึกเป็นชนิดไฟล์ JPG, JPEG, GIF, BMP, PNG, TIF และ TIFF จะแสดงด้วยรูปขนาดย่อ และผู้ใช้อื่นๆ สามารถดูได้ใน SkyDrive หรือในการแสดงภาพสไลด์แบบออนไลน์ หากพวกเขามีสิทธิ์ที่เหมาะสมในการดูรูป
  • การใช้ร่วมกัน แบ่งปันลิงค์ร่วมกันโดยตรงไปยังโฟลเดอร์ ไฟล์ และรูปถ่ายของคุณ หรือ Embed รูปถ่ายและไฟล์ในบล็อกหรือเว็บเพจ คุณยังสามารถให้บุคคลทราบว่าเพิ่มรูปภาพของพวกคุณลงใน SkyDrive ได้โดยการเพิ่มแท็กบุคคล

หมายเหตุ
  • เมื่อคุณอัปโหลดรูปถ่ายหรือไฟล์ เพิ่มข้อคิดเห็น และดำเนินการอื่นๆ ใน SkyDrive Windows Live จะเพิ่มการดำเนินการเหล่านั้นลงในรายการมีอะไรใหม่ของคุณบนเว็บไซต์ SkyDrive เพื่อให้คุณและผู้อื่นในเครือข่าย Windows Live ของคุณสามารถรับรู้ข้อมูลล่าสุดว่าแต่ละคนทำอะไรอยู่
  • SkyDrive มีตำแหน่งที่ตั้งสำหรับจัดเก็บไฟล์ของคุณแบบออนไลน์ แต่ไม่ใช่ไซต์ FTP และไม่ทำงานร่วมกับไคลเอนต์ FTP
  • Microsoft อาจจำกัดจำนวนไฟล์ที่ผู้ใช้แต่ละรายสามารถอัปโหลดไปยัง SkyDrive ในแต่ละเดือนได้
  • โปรดปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และให้ระมัดระวังสิ่งที่คุณแบ่งปันทางออนไลน์ ทั้งนี้ การคัดลอกหรือใช้เนื้อหาที่ไม่ได้รับอนุญาตร่วมกันถือเป็นการละเมิดข้อตกลงการใช้บริการของ Microsoft

อ้างอิง
http://windows.microsoft.com/th-TH/skydrive/SkyDrive-about-faq  เข้าถึงเมื่อ 15/07/2555 
http://bombik.com/node/79/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-windows-live-skydrive   เข้าถึงเมื่อ 15/07/2555
 

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีเว็บ 2.0

เทคโนโลยีเว็บ  2.0

เว็บ 2.0 ( Web 2.0) มีความเชื่อมโยงกับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ ซึ่งมีลักษณะส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล การพัฒนาในด้านแนวความคิดการออกแบบที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางuser-centered design และ การร่วมสร้างข้อมูลในโลกของอินเทอร์เน็ตเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บไซต์ที่ออกแบบโดยใช้หลักการของเว็บ 2.0 ทำให้กลุ่มผู้ใช้งานสามารถปฏิสัมพันธ์และร่วมมือกันในลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเนื้อหาขึ้นเอง ต่างจาก เว็บ 1.0 ที่กลุ่มผู้ใช้ถูกจำกัดบทบาทโดยทำได้แค่เพียงการเยี่ยมชม หรือดูเนื้อหาที่ผู้ใช้สนใจ สำหรับตัวอย่างของเว็บ 2.0 ได้แก่ บล็อก เครือข่ายสังคมออนไลน์ สารานุกรมเสรี วิดีโอแชริง โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ แมชอัพส์ และ โฟล์คโซโนมี

คำว่า "เว็บ 2.0" เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หลังจากงานประชุม โอไรล์ลีย์มีเดีย เว็บ 2.0 ที่จัดขึ้นในปี 2547  คำว่า "เว็บ 2.0" นั้นเป็นคำกล่าวเรียกลักษณะของเวิลด์ไวด์เว็บในปัจจุบัน ตามลักษณะของผู้ใช้งาน โปรแกรมเมอร์และผู้ให้บริการ ซึ่งตัวเว็บ 2.0 เองนั้นไม่ได้กล่าวถึงการพัฒนาทางด้านเทคนิคแต่อย่างใด แต่เป็นคำที่กล่าวถึงลักษณะโดยรวมที่ผู้พัฒนาเว็บเปลี่ยนแปลงวิธีการออกแบบเว็บไซต์ และผู้ใช้ปลายทางเปลี่ยนแปลงบทบาทการใช้งานเว็บ ทิม เบอร์เนิร์สลี ผู้เริ่มแนวความคิด และสร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะทางเทคนิคของเว็บ 2.0 นั้นเกิดขึ้นมานานกว่าคำว่า "เว็บ 2.0" จะถูกนำมาเรียกใช้ วิสัยทัศน์เริ่มแรกของเบอร์เนิร์ส ลี คือการสร้างสื่อที่เอื้อต่อการร่วมสรรค์สร้างของผู้ใช้งาน เป็นสื่อกลางที่ผู้ใช้งานไม่เพียงแต่รับ แต่สามารถร่วมแบ่งปันข้อมูลข่าวสารด้วย

เทคโนโลยีที่น่าสนใจสำหรับ Web 2.0



Google+ (Google Plus) คือโครงการของ Google ที่มีความพยายามมานานหลังจากมีการออกมายอมรับก่อนหน้านั้นว่า Google ขยับตัวช้าไปในเรื่องนี้แถมยังมีข้อเสนอพิเศษให้กับพนักงานที่สามารถคิดโครงการ Social Networks ให้ออกมาประสบความสำเร็จอีกด้วย
Google + ใช้ชื่อ Tagline เอาไว้ว่า “Real-life sharing, rethought for the web” ซึ่งแน่นอนนี่คือคำเฉลยของข้อมูลจากปุ่ม Google+ ที่ออกมาก่อนหน้านี้
จะเห็นว่าใน Google + นั้นมีการใช้คำว่า +Circles คือระบบเพื่อนนั่นเองที่จะสามารถสร้างกลุ่มเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ และสามารถกำหนดเป็นกลุ่มๆได้ อย่างเช่น เพื่อน”, “ครอบครัวและกำหนดจำนวนคนในกลุ่มได้มากกว่า 100 คนเพื่อใช้พูดคุยกันบนโลกออนไลน์ได้
ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของการพูดคุยกันใน Google + โดยจะทีการใช้ชื่อว่า +Sparks ที่มันจะคอยทำหน้าที่กำหนดสิ่งที่เราสนใจต่างๆเพื่อเข้าไปแชร์ ดูข้อมูลหรือสนทนาได้ (แบบ Group ) ยกตัวอย่างเช่นเราสนใจเรื่อง รถยนต์”, “การ์ตูน”, “แฟชั่นเป็นต้น ซึ่งเราสามารถระบุสิ่งที่ชื่นชอบเหล่านั้นได้แล้วก็จะมีข้อมูล feed เข้ามาให้เราได้ดู คล้ายหลักการการเป็น Fan ของ Facebook นั้นเองที่เรากด Like แล้วเมื่อต้นทางมีการอัพเดทข้อมูลเราก็จะได้เห็นด้วย แต่ +Sparks จะดึงข้อมูลจาก Internet ที่มากกว่าผ่านปุ่ม Google + เข้ามาแสดงผลด้วยซึ่งมันรองรับภาษาถึง 40 ภาษาในช่วงการเปิดตัวนี้เลย
ฟีเจอร์ต่อไปนี้ถือว่าหลายคนคงชื่นชอบนั้นคือ +Hangouts ฟังชื่อก็รู้แล้วว่ามันต้องเจ๋งแน่ๆ เพราะมันเป็นการกำหนดอนาคตว่าเราต้องการจะไปปาร์ตี้ (ไปทำอะไรก็แล้วแต่) โดยเพื่อนๆสามารถเห็นว่าเรา ว่างพร้อมที่จะออกไปสนุกสนานเรียกให้เพื่อนๆเข้ามาสนุกกับเราด้วย หรือจะเรียกว่ามันคือฟีเจอร์นัดพบก็ว่าได้ แต่มันก็ไม่จำเป็นแค่เพื่อนเท่านั้นที่จะมาเจอกัน เพื่อนของเพื่อนหรือจะใครต่อใครก็ได้เช่นกัน
ขาดไม่ได้เลยในยุคนี้คือ Chat และแน่นอน Google ให้ความสำคัญกับฟีเจอร์นี้พอสมควรโดยใช้ชื่อฟีเจอร์นี้ว่า + Huddle ซึ่งมันสามารถทำการพูดคุยกันเป็นกลุ่มๆได้ด้วยเหมาะสำหรับการทำเป็น Gang ซึ่งถ้าหลายคนเคยใช้งาน BlackBerry Messenger คงคุ้นกับการสนทนาเป็น Group messaging นี้ดี
และเพื่อให้ Google + สมบูรณ์แบบก็จะต้องมีบนมือถือด้วยโดย Google + พร้อมให้ดาวน์โหลดไปใช้บนมือถือที่เรียกว่า +Mobile โดยมีฟีเจอร์ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นครบสมบูรณ์บนมือถือกันเลย ซึ่งในอนาคตมันคงจะเข้าไปอยู่บนระบบ Android ที่เป็นระบบปฏิบัติการบนมือถือของ Google อีกด้วย โดยไปดาวน์โหลดมาใช้งานกันได้แล้วที่ A ndroid market
ว่าแล้วก็ไปลองใช้ Social Networks ตัวล่าสุดนี้กันเลยว่าจะสู้ Facebook อย่างที่ทาง Google คาดหวังไว้หรือไม่

อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A_2.0   เข้าถึงเมื่อ 15/07/2555

http://www.kwamru.com/google-plus-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-google  เข้าถึงเมื่อ  15/07/2555


วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Search Engine

ความหมาย  เสิร์ชเอนจิน  ( Search engine )
เสิร์ชเอนจิน (search engine)   คือ โปรแกรมค้นหาที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

ประโยชน์ของ Search Engine
1. ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้สะดวกรวดเร็ว และถูกต้อง
2. ค้นหาข้อมูลแบบเจาะลึกได้ เช่น
blog seo หนัง รูป หนังสือ เป็นต้น
3. รองรับการค้นหาได้หลายภาษา


เทคนิคการ  Search  Engine ขั้นสูง
กรณีที่ในผลลัพธ์ของการค้นหาแบบขั้นพื้นฐานยังไม่สามารถให้ผลที่ตรงตามความต้องการ การค้นหาขั้นสูงนี้จะช่วยให้คุณสามารถปรับแต่งเงื่อนไขต่างๆเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด ถ้าคุณต้องการไปยังหน้าที่อยู่ด้านล่าง ท่านสามารถเข้าได้โดนคลิ๊กที่ลิงค์ ค้นหาขั้นสูง  
                                                                                                                                             
คำอธิบายตามการใช้งานของการค้นหาขั้นสูง  
การค้นหาขั้นสูงสนับสนุนการสืบค้นข้อมูลด้วยเงื่อนไขต่างๆหลากหลายรูปแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานที่ต้องการข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง และตรงความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยรูปแบบของเงื่อนไขต่างๆที่ระบบสนับสนุนมีดังต่อไปนี้  
1.  ข้อมูลที่มีคำเหล่านี้ทั้งหมด ตัวอย่าง เช่น ค้นหาคำว่า หนังสือ AND กระทรวง จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำทั้งสองเท่านั้น



2.  Phrase Matching คือ ค้นหาวลีหรือข้อความที่ตรงตามรูปแบบนี้เท่านั้น โดยการใช้สัญลักษณ์ (" ") ครอบวลีหรือข้อความที่เราต้องการสืบค้น เช่น "ประมวลรัษฎากร"




3.  ข้อมูลที่มีคำเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งคำ ตัวอย่างเช่น ค้นหาคำว่า ภาษี OR เงินได้ จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำใดคำหนึ่งก็ได้


4.  ข้อมูลที่ไม่มีคำเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ค้นหาคำว่า หนังสือ NOT กระทรวง จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำว่า หนังสือ แต่ไม่มีคำว่า กระทรวง
หมายเหตุ: ผู้ใช้สามารถใส่คำค้นในช่อง A, B, C และ D พร้อมกันได้ โดยคำค้นในทุกช่องจะถูกนำมา And กันทั้งหมด  


5.  เลือกรูปแบบว่าจะค้นหาทั่วโลก โดยการเลือกเช็คบ๊อกซ์แล้วจึงกดค้นหา
Google  


6.  กำหนดลักษณะการค้นหาได้แบบไวยากรณ์ ตัวอย่างเช่น "track" ใช้ไวยากรณ์ โดยใช้สัญลักษณ์(~) เช่น ค้นหาคำว่า “ track~ “ จะได้ผลการค้นหาของ track tracks tracking เป็นต้น
ใช้ไวยากรณ์ (เฉพาะภาษาอังกฤษ)


7.  สามารถกำหนดกลุ่มคำที่สะกดไม่เหมือนกัน เพื่อสืบค้นได้ (หรือใช้ สัญลักษณ์ % ซึ่งได้อธิบายวิธีการใช้ไว้ในหน้า Basic Search) ซึ่งเลขระดับของการสะกดผิดจะแสดงถึง จำนวนตัวอักษรที่น่าจะสะกดผิด เช่น ค้นหาคำว่า สันพากร เมื่อค้นหาจะได้ผลลัพธ์ของเอกสารที่มี คำว่า สรรพากร เป็นต้น
               สะกดคำผิดได้    ระดับ


8.  กำหนดหมวดในการค้นหา ตัวอย่าง ค้นหาข้อมูลที่มีอยู่ในส่วนกลาง (ทุกหมวด), ค้นหาข้อมูลที่ถูกจัดไว้ในหมวดประมวลรัษฎากร
 


9.  กำหนดขอบเขตการค้นหาแบ่งตามหน่วยงานของกรมสรรพากร ตัวอย่าง ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในภาค 1 จากทุกสำนักงานพื้นที่
      


10.  กำหนดรูปแบบผลลัพธ์ของภาษา เช่น กำหนดให้แสดงผลลัพธ์เฉพาะเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทย หรือ ทุกภาษา
   

ทุกภาษา
ไทย
English



11.  กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์
  เรียงตาม: แสดง  รายการ/หน้า




12.  กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์
 



13.  กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์